หลักการและเหตุผล
เครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการ-วิจัยสายมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์เริ่มต้นขึ้นจากการลงนามในบันทึกข้อตกลงเครือข่ายความร่วมมือฉบับที่ 1 เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2550 ในขณะนั้นมีสมาชิกเพียง 6 สถาบัน แต่มาบัดนี้ เครือข่ายฯ ได้ขยายกรอบความร่วมมือจนมีสมาชิกในปัจจุบันเกือบ 30 คณะวิชา เพื่อร่วมมือกันจัดกิจกรรมที่สำคัญทางวิชาการ คือ การจัดประชุมสัมมนาวิชาการ-วิจัยเพื่อเผยแพร่ผลงานระดับชาติหรือนานาชาติปีละ 1 ครั้ง ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาองค์ความรู้ทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ให้มีความเข้มแข็งและก้าวหน้าด้านวิชาการยิ่งขึ้น
การประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติเครือข่ายความร่วมมือวิชาการ-วิจัยสายมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ครั้งที่ 15 จัดขึ้นภายใต้แนวคิด Expanding Our Horizons: Strategies for Synergization Beyond the Humanities and Social Sciences in the Digital Era จากความร่วมมือของคณะมนุษยศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ และวิทยาลัยนานาชาติเพื่อศึกษาความยั่งยืน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ซึ่งเป็นเจ้าภาพจัดงานประชุมวิชาการในครั้งนี้
การจัดประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติครั้งที่ 15 นี้ประกอบด้วยกิจกรรมหลัก ได้แก่ การปาฐกถาพิเศษ และการนำเสนอผลงานทางวิชาการในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ของคณาจารย์ นักวิชาการ นักวิจัย นิสิตและนักศึกษาทั้งจากภายในและภายนอกสถาบันเครือข่ายความร่วมมือฯ คณะผู้จัดงานหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติในครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาความเข้มแข็งด้านวิชาการ-วิจัยในสายมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ของประเทศไทยให้ทัดเทียมระดับสากลต่อไป
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้คณาจารย์ นักวิชาการ นักวิจัย นิสิต นักศึกษา และบุคคลทั่วไป รับรู้และตระหนักถึงความสำคัญขององค์ความรู้ในสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ซึ่งเป็นศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์และสังคมที่เกิดจาก ทำให้สามารถเข้าใจความคิดความต้องการของผู้คนในสังคม และสามารถนำความคิดดังกล่าวไปประยุกต์เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ต่อองค์กรและสังคม
2. เพื่อเป็นเวทีให้คณาจารย์ นักวิชาการ นักวิจัย นิสิต นักศึกษา และบุคคลทั่วไปที่สนใจได้นำเสนอผลงานทางวิชาการในสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
3. เพื่อเป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนแนวคิดและประสบการณ์ทางวิชาการในศาสตร์สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ระหว่างคณาจารย์ นักวิชาการ นักวิจัย นิสิต และนักศึกษา ทั้งในและต่างประเทศ
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. เกิดความร่วมมืออย่างเป็นรูปธรรมในการดำเนินกิจกรรมเสริมสร้างความเข้มแข็งด้านวิชาการ-วิจัยของสถาบันการศึกษาที่เป็นสมาชิกเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการ-วิจัยในสายมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
2. ได้องค์ความรู้ในศาสตร์ของสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์จากการแลกเปลี่ยนแนวคิดและประสบการณ์ทางวิชาการระหว่างคณาจารย์ นักวิชาการ นักวิจัย นิสิต นักศึกษา และบุคคลทั่วไปจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน เพื่อนำไปพัฒนา ต่อยอด หรือประยุกต์ในการเรียนการสอนและการวิจัยต่อไป
3. คณาจารย์ นักวิชาการ นักวิจัย นิสิต นักศึกษา และบุคคลทั่วไปตระหนักรู้ถึงความก้าวหน้าและความสำคัญในงานวิชาการ-วิจัยสายมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
เครือข่ายความร่วมมือ
-
คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
-
คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
-
คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
-
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
-
คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
-
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
-
คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
-
คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
-
คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
-
คณะรัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
-
คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
-
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
-
คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
-
คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
-
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
-
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์
-
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์
-
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
-
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
-
คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
-
คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
-
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
-
คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
-
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
-
วิทยาลัยนานาชาติเพื่อศึกษาความยั่งยืน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ